ลึกเกินหยั่ง..ปฐมบรมกษัตริย์ราชวงศ์จักรีกับวัดสระเกศ โดยเจ้าคุณเบอร์ลิน

ปฐมบรมกษัตริย์

ราชวงศ์จักรีกับวัดสระเกศ 


ความสัมพันธ์ลึกเกิน

สามัญชนทั่วไปหยั่งรู้


" บทความ เพื่อถวายความอาลัย 
และเทิดพระเกียรติ แด่พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ 
ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ "


ราวปี พศ. 2520 เป็นช่วงที่ผม
เจ้าคุณเบอร์ลิน มีบุญวาสนาเริ่มมา
อยู่รับใช้ในองค์พระอุปัชฌาย์ คือ

หลวงพ่อสมเด็จเกี่ยว 
(เพื่อนของหลวงพ่อสมเด็จช่วง 
วัดปากน้ำภาษีเจริญ)
อดีตประธานคณะผู้ปฎิบัติหน้าที่
สมเด็จพระสังฆราชแห่งวัดสระเกศ
ภูเขาทอง

ผมอยู่ต่อเนื่องมาจนถึงปีที่ท่านสิ้น
คือ พ.ศ. 2557 นั้นมีเรื่องราวสำคัญๆ
ที่ผม ได้รับการบอกเล่าถ่ายทอดจาก
หลวงพ่อสมเด็จเกี่ยวจำนวนมากที่
ผมเองก็อยากจะนำมาถ่ายทอดให้
แก่ท่านผู้สนใจได้รับทราบด้วยกัน
ครับ

เพราะคงหาอ่านเรื่องสำคัญๆ แบบนี้
ไม่ง่ายแต่โอกาสผม ก็ไม่ค่อยอำนวย
นักซึ่งถือเป็นเกร็ดความรู้ที่ผมคิดว่า
หาไม่มีในตำราเล่มไหนๆ หรอกครับ

รายงานตัวด้วยการ

เข้าสาระสำคัญเลยนะครับ


วัตรปฏิบัติ ของหลวงพ่อสมเด็จเกี่ยว
แหล่งที่มาของบทความ

ตลอดเวลากว่า 40 ปี ที่ผมอยู่กับ
หลวงพ่อ สมเด็จเกี่ยวที่คณะ 5 นั้น
ในทุกครั้งที่ หลวงพ่อสมเด็จเกี่ยว
ท่านกลับออกมาจากพระบรมมหา
ราชวังหลังเสร็จพระราชพิธี ในแต่
ละครั้งนั้น

ทุกครั้งพอแค่ท่านเปิดประตูลงจาก
รถ ที่หน้ากุฏิคณะ 5 ท่านก็จะเริ่มเล่า
เรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ใน
งานราชพิธีที่ท่านเพิ่งไปร่วมในวัน
นั้นๆ ให้กับพวกเราชาวคณะ 5 ที่ไป
คอยรอรับท่านที่รถฟังทันทีที่สำคัญ
ในแต่ละครั้งท่านจะเล่าแบบเน้นๆ
ให้ฟังว่า ..

" วันนี้ ในหลวงเป็นอย่างไรบ้าง 
ตรัสอะไรกับท่านบ้าง "

จากนั้นพอขึ้นไปบนกุฏิ ท่านก็จะ
ยังไม่เข้าห้องพัก แต่ท่านจะเดิน
ไปนั่งพิงเสาศาลากลางคณะ 5
หน้าทางเดินห้องท่านเพื่อพักดื่ม
น้ำช่วงนี้แหละครับ ที่พวกเราจะได้
รับฟังรับรู้ เติมเต็มองค์ความรู้กับ
เรื่องราวรายละเอียดเกี่ยวกับพระ
ราชพิธีที่ท่านไปในวันนั้นๆ กัน

ผมเอง..

เป็นเช่นนี้มากว่า 40 ปี 

หลวงพ่อสมเด็จเกี่ยว ท่านจะ
พยายามเก็บรายละเอียดต่างๆ
มาเล่าอย่างดวงตาสดใสซึ่งผม
รับทราบได้ว่าในทุกครั้งเมื่อท่าน
เล่าเกี่ยวกับเรื่องสำคัญเช่นนี้

ผมสังเกตเห็นชัดถึงอารมณ์และ
เจตนาของท่าน ในแต่ละครั้งที่
ท่านบอกเล่าเรื่องสำคัญเช่นนี้
ดูเหมือนท่านจะมีความสุขปีติยิ่ง
ในการเป็นเข้าเฝ้าเพื่อทำกิจสงฆ์
ถวายองค์เอกศาสนูปถัมภกใน
ทุกๆ  ครั้ง

และท่านจะตั้งใจ ที่จะต้องการ
ถ่ายทอดให้เหล่าศิษย์ฟังด้วย
เจตนาเทิดพระเกียรติในหลวง
(พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในพระบรมโกศ )

โดยท่านจะเล่าอย่างไม่รู้จักเหน็ด
จักเหนื่อยทั้งที่บางครั้งท่านเล่าว่า..

"ตัวท่านเองเพื่อสำรวมในวิสัยสมณะ 
ต้องนั่งอั้นอยู่กับที่กว่า 3-4 ช.ม. แต่
ท่านจะปีติ ในทุกครั้งได้เข้าเฝ้าคล้าย
ท่านมีความความเคารพนับถือพระเจ้า
อยู่หัวในบรมโกศ ในทางส่วนตัวเป็น
อย่างมาก "

(ในหลวงในพระบรมโกศ ทรงพระ
ราชสมภพปีเถาะ ส่วนสมเด็จเกี่ยว 
เกิดปีมะโรงห่างกันเพียง 1 ปี )

อีกอย่างเจตนาของท่าน ผมสังเกต
เห็นชัดอีกว่าเพื่อให้พระสงฆ์รุ่นใหม่ๆ
ที่จะต้องร่วมรับผิดชอบงานคณะสงฆ์
ต่อไปอย่างเราๆ และเหล่าพสกนิกร
ให้ได้รับรู้เรื่องสำคัญเช่นนี้เอาไว้และ
จะได้เผยแพร่ต่อผู้อื่นต่อไป

เพราะท่านไม่นำมาเล่า 

พวกเราก็ย่อมไม่ทราบ

ที่สำคัญ เพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์
ต่อคณะสงฆ์โดยรวมในภายภาคหน้า
ด้วยแน่นอนครับเรื่องแบบนี้ผมจดและ
จำชนิดระเอียดยิบในทุกครั้งเลยครับ


ความสัมพันธ์

ปฐมพระมหากษัตริย์

แห่งพระราชวงศ์จักรีกับสำนัก
วัดสระเกศ จากคำบอกเล่าของ
สมเด็จเกี่ยว


เรื่องที่ผมจะขอนำมาเล่าต่อจากนี้
ผมจดบันทึกไว้อย่างชัดเจนครับ
ท่านเล่าให้ผมฟัง หลังอาหารเช้า
ที่วัดสระเกศ ขณะนั่งฟังหลวงพ่อ
สมเด็จเกี่ยว ถ่ายทอดให้ฟังเดี่ยวๆ

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2543 
เวลา 08:30 น. ที่ศาลาเฉลิม
พระเกียรติ ข้างภูเขาทอง

มีรายละเอียด ที่สรุปได้ดังนี้..
ต่อจากนี้ไป ล้วนเป็นคำพูดของ
หลวงพ่อสมเด็จเกี่ยว วัดสระเกศ
ทั้งหมดครับ

" วัดสระเกศนั้นเป็นวัดที่มีความ
สำคัญต่อราชวงศ์จักรียิ่งนัก

รัชกาลที่ 1 ได้ทรงทำมธุระที่นี่
คล้ายรดน้ำดำหัวตามราชประเพณี
ชำระร่างกาย ก่อนที่จะขึ้นเตรียม
เป็นกษัตริย์

จากนั้นไปวัดโพธิ์ 3 วันก่อนข้ามฟาก
ไปปราบดาภิเษก "

(นั้นหมายถึง ได้พิจารณาและคัด
เลือกชัยภูมิ คือบริเวณวัดและเจ้า
อาวาส เพื่อกิจสำคัญอย่างดีแล้ว)

สระที่ว่านี้ 

สมเด็จพระสังฆราชอยู่ 

ได้ทรงเล่าว่า ..


" ได้สร้างศาลาการเปรียญ "

เพื่อป้องกันคนมาใช้เกินเหตุ
ขาดความสำคัญ.เมื่อคราววาง
เสาเข็มเพื่อสร้างศาลาระวีช่างได้
มารายงานแก่สมเด็จเกี่ยวว่า..

"เสาเข็มไปกระทบขอบสระที่ว่า"

ดังนั้น หลวงพ่อสมเด็จเกี่ยว
จึงมั่นใจว่า ..

"เป็นสระใหญ่ 
ดังสมเด็จพระสังฆราช ทรงเล่าไว้ "


หลวงพ่อสมเด็จเกี่ยวได้เล่า
ต่อไปว่า..

" วัดสระเกศเรานั้นมีสมเด็จครบ
ทุกองค์ (สมเด็จเก่า) คือ

1. สมเด็จพระพุฒาจารย์ สนธ์
2. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
3. สมเด็จพระวันรัตน์ แดง


สมเด็จพระพุฒาจารย์ สนธ์ 
เป็นพระอุปัชฌาย์ของสมเด็จ
พระวันรัตน์ แดง

สมเด็จพระวันรัตน์ แดง เป็นอุปัชฌาย์
ของสมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์
และสมเด็จพระสังฆราช อยู่วัดสระเกศ
สมเด็จพระวันรัตน์ แดง ทรงมีลูกศิษย์
เป็นสมเด็จพระสังฆราชถึง 2 พระองค์

ในสมัยรัชกาลที่ 5 
สมเด็จพระวันรัตน์ แดง ไปครองวัดสุทัศน์
ซึ่งสมเด็จพระวันรัตน์ แดง เป็นที่เคารพ
ของรัชกาลที่ 5 มาก


จิตใจรักชาติของ

บูรพาจารย์สงฆ์ไทย

มีครั้งหนึ่ง ญี่ปุ่นบุกไทยในสมัย
สงครามโลกครั้งที่ 2 รัชกาลที่ 5
ทรงกังวลพระทัยมาก ได้เสด็จไป
ปรารภ และตรัสถามกับสมเด็จ
พระมหาสมณเจ้า (น้องยาเธอ) ว่า..

"ควรทำอย่างไร"

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
ทรงตอบว่า..

"เป็นพระจะให้คำแนะนำอะไรได้ "

เป็นเหตุให้รัชกาลที่ 5 ทรงคลาย
ศรัทธาธรรมลงไปมากวันหนึ่งได้
เสด็จไปถามแบบนี้กับสมเด็จ
พระวันรัตน์ แดงๆ ทรงตอบกลับ
ทันทีว่า..

"ต้องสึกไปรบกัน"

ปรากฏว่ารัชกาลที่ 5 ทรงพอพระทัย
เป็นอย่างมากคราวสร้างวัดเบญจมะ
ได้ทรงมอบให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
ไปทรงควบคุมการก่อสร้าง ได้มีลาย
พระหัตถ์ว่า..

"ทรงมานะขึ้นมาบ้าง" 
หมายความว่า ไม่เต็มใจเท่าไร
เพราะเป็นการสร้างให้คณะสงฆ์
มหานิกาย

ดังนั้นในภายหลังเพื่อการปกครอง
จึงได้สร้างวัดราชบพิธขึ้น ให้แก่
คณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต

สมเด็จพระวันรัตน์แดง
ได้ทรงคัดเลือกพระเณรไปอยู่วัด
เบญจมะฯ หนึ่งในนั้นคือสามเณรปลด
ภายหลังเป็น สมเด็จพระสังฆราช


จริยวัตรงดงาม

ที่พระสงฆ์ควรยึดเป็น

แบบแผน

ในการปฎิบัติต่อองค์พระมหากษัตริย์
หลวงพ่อสมเด็จเกี่ยว เล่าให้ผมฟัง
ต่อไปว่า..

มีคนทูลให้สมเด็จพระสังฆราชอยู่
ว่าให้ทูลในหลวง มางานวัดทุกครั้ง
สมเด็จพระสังฆราช อยู่ ทรงตรัสว่า

" วัดเป็นของท่านอยู่แล้ว เราเป็น
เพียงผู้เฝ้าท่านจะมาเมื่อไรก็ได้ "

(ดูภาพประกอบ)

ครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2508 ในหลวง 
(ในพระบรมโกศ) ได้เสด็จมาเฝ้า
ส่วนพระองค์ที่กุฏิคณะ 1 
(พระตำหนัก)


ในครั้งนั้น หลวงพ่อสมเด็จเกี่ยว
เป็นผู้จัดสถานที่เพื่อรับเสด็จโดย
กำลังจะนำพรมมาปูให้เรียบร้อย
สมเด็จพระสังฆราช อยู่ ได้เสด็จ
เดินมาตรัสว่า..

"ไม่ต้อง เพราะนี่เป็นกุฏิไม่ใช่
ที่ต้อนรับ อย่างไร อย่างนั้นเพียง
จัดเก้าอี้ไว้ตัวเดียวก็พอ "

ในวันนั้นหลวงพ่อสมเด็จ เกี่ยว
เป็นผู้ส่งเสด็จ ก่อนเสด็จกลับ
ในหลวงตรัสกับหลวงพ่อ
สมเด็จเกี่ยว ว่า ..

"ทรงชรามาก อย่าไว้ใจ " 
(หมายถึงสุขภาพคนแก่)

หลังจากเล่ามายาวนานแบบเนื้อๆ
ทั้งนั้น กว่า 2 ช.ม.หลวงพ่อสมเด็จเกี่ยว
ได้หันมาจ้องเขม็งถามผมเจ้าคุณ
เบอร์ลินว่า..


เคยเห็น.. รูปที่ว่านี้ไหม?

ผมตอบท่านไปว่าไม่ครับ ผมเคย
เห็นแต่ภาพตอนที่สมเด็จพระ
สังฆราชอยู่ นำเสด็จในหลวงขึ้น
ภูเขาทอง

รูปที่ผมนำมาประกอบโพสต์นี้
หลวงพ่อสมเด็จเกี่ยว เล่าว่า..

สมเด็จพระสังฆราช อยู่
ทรงต้อนรับในหลวงในพระบรมโกศ
"ห่มแบบควาย" 
(คำเรียกวิธีห่มผ้าของพระ)
เพราะเป็นรูปแบบห่มผ้าแบบ
พระมหานิกายดั้งเดิม

ปัจจุบัน รูปสำคัญยิ่งแผ่นนี้ซึ่งเป็น
ต้นฉบับถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2508
เป็นภาพประวัติศาสตร์ สำคัญยิ่ง
ภาพหนึ่งที่คณะสงฆ์วัดสระเกศได้
นำไปจัดแสดงนิทรรศการ เพื่อเทิด
พระเกียรติที่บริเวณรอบๆ ภูเขาทอง
ชมฟรีได้ทุกวันครับ

สรุป

เรื่องเล่าที่ผม เจ้าคุณเบอร์ลินนำมา
เล่าต่อข้างต้นนั้นผมพิจารณาเห็นว่า
มีความสำคัญเทียบเกร็ดประวัติศาสตร์
เลยแหละครับผมเองเชื่อว่า

เรื่องสำคัญแบบนี้ 
หลายท่านคงไม่เคยได้ยินได้ฟัง
มาก่อนดังนั้น หากท่านทั้งหลาย
เมื่ออ่านแล้ว จะพิจารณาช่วยๆ
กันแชร์เผยแพร่ออกไปเพื่อ
วิทยาทานเพื่อเล่าต่อรุ่นสู่รุ่น

เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ

ในหลวงในพระบรมโกศ 

ก็จะเป็นการดียิ่งนะครับผมเอาไว้มี
โอกาส ผมจะนำเรื่องแบบนี้มาชวน
คุยชวนเล่าใหม่นะครับ

เพราะสมัยก่อนที่ผมอยู่กับหลวงพ่อ
สมเด็จ เกี่ยว นั้นผมได้รับพรพิเศษ
อย่างหนึ่ง คือ สามารถถามได้ทุก
เรื่องดังนั้นเรื่องสำคัญๆ แบบนี้ผมจึง
มีบันทึกไว้เยอะเลยครับ


ผมขอจบโพสต์นี้ด้วยคำว่า..

" หากกุศลใดๆ ที่จะพึงมีด้วยการนำ
บทความนี้ มาเผยแพร่อาตมภาพ 
เจ้าคุณเบอร์ลิน และทีมงาน 

พร้อมพสกนิกรขาวไทยทุกคน
ขอน้อมถวายเป็นพระราชกุศล 
แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
ในพระบรมโกศผู้ทรงพระคุณอัน
ประเสริฐ ขอถวายความอาลัย "


โชคดีมีชัยทุกท่านครับ
เจ้าคุณเบอร์ลิน
Berlin,den 30.10.2016


เพราะความลับไม่มีในอากาศ
>Talk--secret.blogspot.com
ลึกเกินหยั่ง..ปฐมบรมกษัตริย์ราชวงศ์จักรีกับวัดสระเกศ โดยเจ้าคุณเบอร์ลิน ลึกเกินหยั่ง..ปฐมบรมกษัตริย์ราชวงศ์จักรีกับวัดสระเกศ โดยเจ้าคุณเบอร์ลิน Reviewed by สารธรรม on 02:49 Rating: 5

15 ความคิดเห็น:

  1. เสด็จสู่สวรรคาลัยผองพสกนิกรชาวไทย
    น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณตราบนิจนิรันดร์

    ตอบลบ
  2. สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์
    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ
  3. เสด็จสู่สวรรคาลัยผองพสกนิกรชาวไทย
    น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณตราบนิจนิรันดร์

    ตอบลบ
  4. เราชาวไทยรักชาติศาสน์กษัตริย์
    เรายืนหยัดมุ่งมั่นไม่หวั่นไหว
    เราพี่น้องร่วมร้องเพลงชาติไทย
    เราจะได้ภูมิใจชาติไทยดี
    เราคนไทยรักชาติศาสน์กษัตริย์
    เราถือสัตย์เพื่อชาติเพื่อศักดิ์ศรี
    เราจะร่วมต่อสู้เป็นชาติพลี
    เราจะมีตำนานขานยาวไกล...

    ตอบลบ
  5. กราบอนุโมทนาบุญกับท่านเจ้าคุณเบอร์ลินด้วยความเคารพ กราบสาธุๆๆเจ้าค่ะ

    ตอบลบ
  6. พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาทีสุดมิได้

    ตอบลบ
  7. พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย
    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ
  8. น้อมเกล้าฯถวายอาลัย
    ส่งดวงพระวิญญาณพระองค์
    เสด็จฯสู่สวรรคาลัย

    ตอบลบ
  9. สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์
    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ



  10. เสด็จสู่ฟากฟ้าสุราลัย
    พระมหากรุณาธิคุณจารึกในใจไทยชั่วกาล

    ตอบลบ
  11. เสด็จสู่สวรรคาลัย
    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น..อันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ
  12. เสด็จสู่สวรรคาลัย
    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น..อันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ
  13. เสด็จสู่สวรรคาลัยผองพสกนิกรชาวไทย
    น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณตราบนิจนิรันดร์

    ตอบลบ
  14. พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย
    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ
  15. นัอมเกลัาฯสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นลันพันอันหาทีสุดมิไดัดัวยเกลัาดัวยกระหม่อมขอเดชะ

    ตอบลบ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.